My family

โยคะลดหน้าท้อง

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ใช้ยาแก้แพ้มากเสี่ยงอันตราย



      ภก.วิพิน กาญจนการุณ นายกสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) กล่าวว่า จากการสำรวจในปัจจุบันพบว่าคนไทยทั้งคนเมืองและเด็กรุ่นใหม่เป็นภูมิแพ้กันมากขึ้น เนื่องจากในแต่ละวันที่ต้องพบอากาศที่แปรเปลี่ยน และต้องพบเจอกับตัวการที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ที่มีอยู่รอบตัว ไม่ว่าจะเป็น ฝุ่น ควัน เชื้อรา มลพิษ อาหารที่ปนเปื้อน เกสรดอกไม้ ขนสัตว์ รวมถึงสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยตัวการเหล่านี้จะเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ผ่านการสัมผัส การหายใจ และการกินส่งผลให้ภูมิแพ้เป็นโรคยอดฮิตในยุคนี้ โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่จะนิยมกินยาแก้แพ้เพื่อรักษาหรือบรรเทาอาการด้วยตนเองในกรณีที่มีการแพ้แบบไม่รุนแรง

     ด้วยเหตุนี้ ยาแก้แพ้ จึงเป็นยาอีกกลุ่มหนึ่งที่มีอัตราการใช้สูงมากในประเทศไทย แม้ยาในกลุ่มนี้จะจัดอยู่ในกลุ่มยาที่ค่อนข้างปลอดภัย แต่ก็ควรจะรู้ประเภทของยา โดยยาแก้แพ้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ตามผลข้างเคียง ได้แก่ ชนิดที่ทำให้ง่วง และชนิดที่ไม่ทำให้ง่วงนอน เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้ไม่รุนแรง โดยที่โรคภูมิแพ้ส่วนใหญ่เกิดอาการได้ในหลายที่ อาทิ โพรงจมูก ตา หรือผิวหนัง ซึ่งจะมีอาการ เช่น แพ้อากาศ จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล แพ้เกสรไรฝุ่น ขนสัตว์ เชื้อรา ลมพิษ เคืองตา เป็นต้น
      นายกสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล กล่าวด้วยว่า เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ควรใช้ยาก่อนสัมผัสกับสิ่งที่ทำให้แพ้ และใช้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลาที่ต้องพบกับสารที่ก่อภูมิแพ้ และยาแก้แพ้จะใช้ได้ผลดีกับการป้องกันมากกว่าการระงับอาการแพ้ ทั้งนี้ควรเริ่มใช้ยาจากขนาดต่ำก่อนแล้วค่อยปรับขนาดขึ้นจนได้ผลที่น่าพอใจ แต่ต้องระวัง เรื่องผลข้างเคียงด้วย เมื่อร่างกายเกิดการชินยาแก้แพ้ หากเปลี่ยนชนิดของยาแก้แพ้ชนิดเดิมไปเป็นชนิดใหม่ภายในระยะเวลา 1-2 เดือน ส่วนใหญ่จะทำให้กลับมาใช้ยาชนิดเดิมได้อีก ในกลุ่มเด็กทารกควรเพิ่มความระวังในการใช้เป็นพิเศษเนื่องจากเด็กทารกมีความไวต่อการตอบสนองต่อยานี้มาก อาจเกิดผลกระตุ้นประสาท ทำให้เกิดอาการตื่นเต้นกระวนกระวาย ร้องโยเย หรือรุนแรงถึงขั้นชักได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น