My family

โยคะลดหน้าท้อง

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

ความดันเลือดสูง

      - ความดันเลือดในผู้ใหญ่ไทยปกติ จะอยู่ระหว่าง 80-140/50-90
- ความดันเลือดในผู้ใหญ่ที่เท่ากับหรือสูงกว่า 140/90 ในขณะที่นอนพักอยู่ให้ถือว่าเป็นความดันเลือดสูงโดยเฉพาะถ้าให้นอนพักอีก 5-10 นาทีแล้ววัดใหม่ ความดันเลือดก็ยังเท่าเดิม หรือใกล้เคียงกับที่วัดครั้งก่อน และอีก 1-2 สัปดาห์ต่อมาวัดแล้วก็ยังเท่ากับหรือสูงกว่า 140/90
- ในผู้สูงอายุ ความดันเลือดตัวบนมักแกว่งขึ้นลงมากกว่าของคนหนุ่มสาว
ความดันเลือดสูงเป็นสิ่งที่เราวัดได้ ภาษาหมอเรียกว่า "อาการแสดง" ซึ่งต่างกับอาการ
อาการ คือ สิ่งที่ผู้ป่วยรู้สึกและเล่าให้หมอฟัง
อาการแสดง คือสิ่งที่ตรวจพบผู้ป่วยอาจจะรู้สึกหรือไม่รู้สึกก็ได้
ความดันเลือดสูงจึงไม่ใช่อาการ เพราะผู้ป่วยไม่สามารถรู้สึกได้ ต้องใช้เครื่องมือวัดจึงจะรู้ได้
ความดันเลือดสูงจึงเป็นภาวะหรือสภาพอย่างหนึ่ง ซึ่งในคนปกติก็พบได้เป็นครั้งคราว เช่น เวลาโกรธ เวลาออกกำลังกายมากๆ เป็นต้น
สำหรับภาวะความดันเลือดสูงที่ผิดปกติ อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด
1. ภาวะความดันเลือดตัวล่างสูง
ภาวะความดันเลือดตัวล่างสูงเกิดจากหลอดเลือดแดงฝอยทั่วร่างกายตีบแคบลง ซึ่งมักเป็นภาวะที่เรียกกันว่าโรคความดันเลือดสูงส่วนใหญ่ (ร้อยละ 75-90) จะไม่รู้สาเหตุที่ทำให้หลอดเลือดแดงฝอยทั่วร่างกายตีบ เวลาพูดกันโดยทั่วไปว่าเป็น "โรคความดันเลือดสูง" มักหมายถึงโรคความดันเลือดตัวล่างสูงที่ไม่รู้สาเหตุ
2. ภาวะความดันเลือดตัวบนสูง
ภาวะความดันเลือดสูงชนิดนี้จะสูงเฉพาะตัวบน ตัวล่างจะปกติหรือสูงเพียงเล็กน้อย เช่น 240-100, 190/90 เป็นต้น
- ภาวะความดันเลือดตัวบนสูง เกิดจากหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องอกและช่องท้องมีผนังหนาแข็ง ยืดหยุ่นได้น้อย เมื่อหัวใจบีบตัวผลักดันเลือดออกมาสู่หลอดเลือดแดงใหญ่ หลอดเลือดแดงใหญ่จะขยายตัวออกรับเลือดไม่ได้ดี ความดันเลือดตัวบนจึงสูงขึ้นมาก
- ความดันเลือดตัวบนสูงส่วนใหญ่เกิดในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะคนที่อายุมากกว่า 60 ปี จนบางคนถือว่าเป็นภาวะปกติสำหรับผู้สูงอายุ

หลักปฏิบัติทั่วไปสำหรับคนที่มีความดันเลือดสูง
1. ลดอาหารเค็ม 
2. ลดความอ้วนลง ถ้าอ้วน
3. ออกกำลังกายเป็นประจำ
4. หลีกเลี่ยงและเรียนรู้การกำจัดความหงุดหงิด โมโห ตื่นเต้น หรือเครียด
5. เลิกดื่มสุราและเลิกสูบบุหรี่
6. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
7. สตรีที่ใช้ยาคุมกำเนิด จะต้องหยุดยาคุมกำเนิด

ข้อมูลจาก http://www.doctor.or.th/node/5854

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

3 ผลไม้เคล็ดลับ “ หน้าเด็ก ”

   
      เฟซโยคะ (Face Yoga) ว่า เทคนิคเฟซโยคะเป็นการบริหารกล้ามเนื้อผิวหน้า จะช่วยให้ระบบการไหลเวียนเลือดดีขึ้นการนวดจะกระตุ้นการถ่ายเทของเสียของร่างกาย ซึ่งควรดูแลควบคู่กับการใช้ครีมบำรุงผิวและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี จะทำให้ผิวพรรณแลดูอ่อนเยาว์สมวัยได้ โดยเทคนิคนี้เหมาะสำหรับผู้มีอายุตั้งแต่ 23 ปีขึ้นไปถึง 55 ปี ซึ่งควรบริหารทุกวัน
       แต่การทำโยคะหน้าเด็กใช้เพียงแค่ผลไม้ 3 ผลก็สามารถทำให้คุณดูเด็กลงได้ แต่ไม่ใช่รับประทานแบบทั่วไปเพราะผลไม้ 3 ชนิดที่ว่าคือ
กล้วยน้ำว้า : วิธีหน้าเด็ก-คอเต่งตึงแบบ 2 ขั้นตอน
1. ทำใบหน้าตรงพูดคำว่า กล้วย-น้ำ-ว้าโดยออกเสียงช้าๆ เอาความรู้สึกไว้ที่มุมปาก
2. เสร็จแล้วทำหน้าเอียง 45 องศา พูดอีกครั้ง แล้วกลั้นหายใจค้างไว้ 5 วินาทีแล้วค่อยหายใจออก
แตงโม : วิธีกระชับผิวรอบมุมปาก
1. เริ่มจากพูดคำว่า แตงโดยเอาความรู้สึกไว้ที่มุมปาก ฉีกยิ้มออกให้กว้างๆ
2. คำว่า โมห่อปากให้เป็นรูปตัวโอ ค่อยๆ ปล่อยลมออกจากปากให้ยื่นออกไป
ลิ้นจี่ :  วิธีบริหารแก้มโชว์ผิวสวย 3 ขั้นตอน (เล็ก-กลาง-ใหญ่)
1. ลิ้นจี่แรกให้พูดห่อปากเล็กๆ เหมือนลิ้นจี่ผลเล็ก
2. ลิ้นจี่ลูกกลาง เมื่อพูดคำว่า ลิ้น-จี่เสร็จให้เหยียดปากให้กว้างกว่าเดิม
3. ลิ้นจี่ลูกใหญ่ พยายามพูดโดยเหยียดปากให้มากที่สุด ทำตาให้โตขึ้น ค้างไว้ 5 วินาที เพื่อยกกระชับแก้ม
เพียงแค่ผลไม้ 3 ชนิดนี้ก็สามารถทำให้คุณมีใบหน้าที่ดูเด็กได้แล้ว

 ข้อมูลจาก  http://health.deedeejang.com/1/2661.html

การปฐมพยาบาลเมื่อเป็นลม


อาการเป็นลมมี 2 ลักษณะ  กล่าวคือ
เป็นลมธรรมดา ผู้ป่วยจะมีอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด หน้าซีด ปากซีด ชีพจรเบาเร็ว  ตัวเย็น เป็นต้น
การปฐมพยาบาล
     ห้ามคนมุงดูผู้ป่วย พาเข้าที่ร่มที่อากาศถ่ายเท   คลายเสื้อผ้าให้หลวม และให้ดมแอมโมเนียหอม จัดท่านอนผู้ป่วยให้ศีรษะต่ำ   ยกเท้าสูงและใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดตามหน้าผาก มือ และ เท้าแต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการหายใจผิดปกติ ให้ผู้ป่วยนอนตะแคงไปข้างใดข้างหนึ่ง ล้วงเอาสิ่งแปลกปลอมในปากออกให้หมด และช่วยผายปอด
เป็นลมแดด ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะ ต่อมาเวียนศีรษะ กระหายน้ำ   หน้าแดงแห้งและร้อน ชีพจรเต้นแรงเร็ว หายใจลึกเร็ว อุณหภูมิสูงประมาณ 40 องศาเซลเซียส หรือมากกว่า เป็นต้น
การปฐมพยาบาล
     รีบนำผู้ป่วยเข้าที่ร่ม อย่าให้คนมุง และอากาศถ่ายเทสะดวก   จากนั้นให้คลายเสื้อผ้าให้หลวม เช็ดตัวด้วยน้ำเย็น ให้ดื่มน้ำเย็น แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ให้นำส่งโรงพยาบาล

ข้อมูลจาก http://rnpong.tripod.com/

ไส้ติ่งอักเสบ Appendicitis


ไส้ติ่ง หรือ Appendix  นี้ มีรูปร่างเหมือนตัวหนอน ห้อยออกมาจากส่วนของลำไส้ใหญ่ที่เรียกว่า Cecum ไม่มีประโยชน์อะไรต่อการย่อยอาหาร แต่นาน ๆ ที มันก็เกิดอักเสบขึ้นมา 
      โรคไส้ติ่งอักเสบหรือไส้ตันนี้ ทุกคนที่อยู่เมืองนอก ควรรู้จักอาการเอาไว้ เพราะอาจเกิดขึ้นได้กระทันหัน ในเวลาที่เรานึกว่าสุขภาพของเราดี โรคนี้เริ่มต้นด้วยอาการปวดท้อง ตอนแรกปวดตรงกลางสะดือ ไม่กี่ชั่วโมงต่อมา จุดปวดนี้ค่อย ๆ ย้ายมาอยู่ที่ท้องน้อยด้านขวา ถ้าเราเอามือกดตรงส่วนนี้ของหน้าท้อง จะยิ่งรู้สึกเจ็บมากขึ้นจนแทบทนไม่ได้ ผู้เป็นมักจะมีไข้ขึ้นและอาเจียนติด ๆ กันหลายคน บางคนหยุดถ่าย แต่บางคนก็ท้องเดิน ถ้ามีอาการเช่นนี้ ต้องรีบไปโรงพยาบาล ให้แพทย์เขาตรวจดูทันที เพราะถ้าไส้ติ่งอักเสบจริง จะต้องทำการผ่าตัดก่อนที่ไส้ติ่งจะทะลุแตกในท้อง และเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ 
การผ่าไส้ติ่งนี้ ไม่ใช่เรื่องยากหรืออันตราย เมื่อแพทย์เขาตัดตัวไส้ติ่งที่อักเสบนั้นทิ้งไป อาการปวดท้องและอาเจียนก็จะหยุดลง  หลังจากนั้นประมาณ 2 อาทิตย์ สุขภาพของท่านก็จะดีตามเดิม
ลักษณะทั่วไป  ไส้ติ่งอักเสบ เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องรุนแรงที่ต้องผ่าตัด หากพบมีอาการปวดเจ็บตรงท้องน้อยข้างขวา ควรนึกถึงโรคนี้ไว้ก่อนเสมอ เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนทุกวัย

สาเหตุ  เกิดจากการอุตตันของไส้ติ่ง เช่น มีเศษอุจจาระตกลงไปในไส้ติ่ง ทำให้มีเชื้อเบคทีเรียเข้าไปทำให้เกิดการอักเสบ
อาการ
  มักมีอาการปวดท้องมาก เริ่มแรกอาจปวดเป็นพัก ๆ รอบสะดือคล้ายโรคกระเพาะ หรือท้องเดิน อาจจะเข้าส้วมบ่อย แต่ถ่ายไม่ออก บางคนอาจสวนด้วยยาถ่าย แต่บางคนก็อาจมีอาการท้องเดินร่วมด้วย
 อาการปวดถึงแม้จะกินยาแก้ปวดอะไรก็ไม่หาย ต่อมาอีก 3-4 ชั่วโมง อาการปวดจะย้ายมาที่ท้องน้อยข้างขวา ลักษณะปวดเสียดตลอดเวลา   ต้องนอนนิ่ง ๆ    เคลื่อนไหวตัวจะทำให้ปวดมาก   ผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนและมีไข้ต่ำ ๆ บางคนถ้าเป็นมากต้องนอนงอขาตะแคงไปข้างหนึ่ง หรือเวลาเดินต้องเดินตัวงอจึงจะรู้สึกสบายขึ้น อาการจะเป็นอยู่นับชั่วโมงถึงหลายวัน บางคนอาจมีอาการปวดท้องน้อยข้างขวา โดยไม่มีอาการอื่นนำมาก่อนเลยก็ได้ ในเด็กประวัติอาการอาจไม่แน่นอนสิ่งตรวจพบไข้ต่ำ ๆ (37.5-38 ํซ. มักไม่เกิน 38.5 ํซ.) บางคนอาจไม่มีไข้ ลิ้นเป็นฝ้าหนา กดเจ็บตรงท้องน้อยข้างขวา โดยเฉพาะตรงจุดไส้ติ่ง หรือจุดแม็กเบอร์เนย์ถ้าใช้มือค่อย ๆ กดตรงบริเวณนั้นลึก ๆ แล้วปล่อยมือทันทีให้ผนังหน้าท้องกระเด้งกลับทันที ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บมาก เรียกว่า อาการกดปล่อยแล้วเจ็บ(rebound tenderness) ถ้าไส้ติ่งแตก จะมีอาการปวดเจ็บทั่วบริเวณท้องน้อย ท้องแข็ง อาจคลำได้ก้อน และไข้สูง
ข้อแนะนำ

1. คนที่มีอาการปวดเหนือสะดือคล้ายโรคกระเพาะ ถ้ากินยาแล้วไม่ดีขึ้น อาจเป็นไส้ติ่งอักเสบระยะแรกได้2. คนที่มีไข้สูงนำมาก่อนหลายวันแล้วค่อยปวดท้องคล้ายไส้ติ่งอักเสบ อาจเป็นอาการของไข้ไทฟอยด์ ได้3. อาการของไส้ติ่งอักเสบ อาจไม่มีไข้ หรืออาการอย่างอื่นนำมาก่อนก็ได้4. ในผู้หญิง ถ้ามีอาการปวดท้องน้อยข้างขวา และมีไข้สูงหนาวสั่นตั้งแต่ระยะเริ่มแรก อาจเป็นปีกมดลูกอักเสบ

รายละเอียด   ถ้ามีอาการปวดและกดเจ็บตรงท้องน้อยข้างขวา ควรนึกถึงโรคไส้ติ่งอักเสบไว้เสมอ


 ข้อมูลจาก http://health.howstuffworks.com/appendix2.htm

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

เบาหวานทำให้ไตวาย


      โรคไตเป็นสาเหตุความเจ็บป่วย และสาเหตุการตายที่สำคัญ ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเบาหวานชนิดพึ่งอินสุลิน โดย 30-35 % ของผู้ป่วย จะเกิดภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ซึ่งต้องทำการรักษาต่อด้วยวิธีไตเทียมหรือด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนไตที่เรียกเป็นทางการว่าการปลูกถ่ายไต
      ผู้ป่วยเบาหวานที่มีความผิดปกติของไตในระยะแรกๆ จะไม่มีอาการแสดงใดๆ แต่จะตรวจพบโปรตีนไข่ขาวในปัสสาวะ เมื่อมีการเสื่อมของไตมากขึ้น ซึ่งต้องใช้เวลาอีก 4-7 ปี จะมีการเปลี่ยนแปลงจนไตเสียหน้าที่ มีการสะสมการคั่งของของเสียภายในร่างกาย ผู้ป่วยอาจมีอาการบวมร่วมด้วย หลังจากระยะนี้อีกประมาณ 1-2 ปี จะเกิดภาวะไตวายเรื้อรังขึ้น
     สำหรับหลักทั่วไปในการดูแลผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน ไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต หรือไม่ให้ไตเสื่อมเร็วเกินไป สรุปได้ดังนี้
- เมื่อทราบว่าเป็นเบาหวาน ต้องพยายามรักษาระดับ น้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับปกติ หรือใกล้เคียงปกติมากที่สุด เพื่อทำให้ไตยังทำหน้าที่ได้ดีเหมือนเดิม
- ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยการ 
- ควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย
- ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ , เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และอาหารโปรตีนสูง
- ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ




อาการเบื้องต้นของโรคเบาหวาน






1. ปวดปัสสาวะบ่อย ครั้งขึ้น เนื่องจากในกระแสเลือดและอวัยวะต่างๆมีน้ำตาลค้างอยู่มาก ไตจึงทำการกรองออกมาในปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะหวาน สังเกตุจากการที่มีมดมาตอมปัสสาวะ จึงเป็นที่มาของการเรียก เบาหวาน
2. ปัสสาวะกลางคืนบ่อยขึ้น
3. กระหายน้ำ และดื่มน้ำในปริมาณมากๆต่อครั้ง
4. อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายไม่มีเรี่ยวแรง
5. เบื่ออาหาร
6. น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะถ้าหากน้ำหนักเคยมากมาก่อน อันเนื่องมาจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปสร้างพลังงานได้เต็มที่จึงต้องนำไขมันและโปรตีนจากกล้ามเนื้อมาใช้ทดแทน
7. ติดเชื้อบ่อยกว่าปรกติ เช่นติดเชื้อทางผิวหนังและกระเพาะอาหาร สังเกตุได้จากเมื่อเป็นแผลแล้วแผลจะหายยาก
8. สายตาพร่ามองไม่ชัดเจน
9. อาการชาไม่ค่อยมีความรู้สึก เนื่องมาจากเบาหวานจะทำลายเส้นประสาทให้เสื่อมสมรรถภาพลงความสามารถในการรับรู้ความรู้สึกจึงถดถอยลง
10.อาจจะมีอาการของโรคหัวใจ และโรคไต

ข้อมูลจาก http://thaidiabetes.blogspot.com/

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

สมุนไพร (ใบหูเสือ)



ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Plectranthus amboinicus (Lour.) Spreng( Syn. Coleus amboinicus  Lour.)

ชื่ออื่น :  หอมด่วนหลวง (เหนือ), ผักหูเสือ, เนียมอีไหลหลึง, โฮว้หีเช่า (จีน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.3-1 เมตร  ลำต้นอวบน้ำ มีขนหนาแน่น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปไข่ค่อนข้างกลม กว้าง 4-6 ซม. ยาว 5-7 ซม. โคนใบมนตัดมีครีบยาว ปลายใบมน ขอบใบจักมน แผ่นใบสีเขียวมีขนหนาแน่นทั้งสองด้าน เนื้อใบหนา มีกลิ่นเฉพาะ ก้านใบยาว 2-4.5 ซม. ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ช่อดอกยาว 10-20 ซม. มีใบประดับรูปไข่ ดอกสีฟ้า กลีบเลี้ยงโคนเชื่อติดกันเป็นรูประฆัง ด้านนอกมีขน ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากบนตั้งตรง กลีบล่างยาวเว้า ออกดอกยาก ผล รูปทรงกลมแป้น กว้าง 0.5 มม. ยาว 0.7 มม. ผิวเรียบ สีน้ำตาลอ่อน
ส่วนที่ใช้ :  ใบสด แก้ปวดหู แก้ฝีในหู แก้หูน้ำหนวกได้ดี รับประทานเป็นผักกับเครื่องจิ้ม
วิธีใช้ : ใช้ใบสดคั้นเอาน้ำมาหยอดหู แก้ปวดหู แก้พิษฝีในหู หูน้ำหนวก